ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

เล่าเรื่องก่อนเป็นตำนาน ตอน..พระกำแพงงบน้ำอ้อย กรุวัดพิกุล

พระกำแพงงบน้ำอ้อย เนื้อเขียว คราบแดง กรุวัดพิกุล กำแพงเพชร     พระพิมพ์เนื้อดินเผา เมืองกำแพงเพชร มีมากมายหลายพิมพ์ มีการค้นพบแม้กระทั่งพระสกุลลำพูน สุพรรณบุรี พระพิมพ์ศิลปะขอม เป็นต้น แตกต่างกันที่เนื้อดินและความปราณีตของแม่พิมพ์ ซึ่งจะได้สืบหาค้นคว้ามานำเสนอเพื่อการอนุรักษ์ต่อไป     พระกำแพงงบน้ำอ้อย กรุวัดพิกุล เป็นอีกหนึ่งพระพิมพ์ที่โด่งดังของเมืองกำแพงเพชร หาพบองค์จริงแทบจะน้อยมาก (กระผมว่าหาพบยากยิ่งกว่าพระรอดซะอีก) องค์ในภาพนี้เป็นเนื้อเขียวเข้ม คราบแดง เนื้อแกร่งมีชั้นผิวนอกที่ดูคล้ายเปลือก ค้นพบภายในเจดีย์วัดพิกุล วัดโบราณในลำดับต้นๆของเมืองกำแพงเพชร คนโบราณท่านว่า วัดที่ตั้งมาก่อนคือวัดป่ามืด ไล่ลำดับไล่เลี่ยกันถัดมาก็จะเป็นวัดซุ้มกอ วัดพิกุล...ซึ่งอายุก็ประมาณเกือบ ๘๐๐ ปีล่วงมาแล้วทั้งหมด เรื่องเล่าสู่ตำนาน พระงบน้ำอ้อย พิมพ์ ๑๐ องค์ เนื้อเขียวคราบแดง ขนาดประมาณเหรียญห้าบาทปัจจุบัน กรุวัดพิกุล (ลานทุ่งเศรษฐี) หาพบได้ยาก อายุประมาณกว่า ๗๐๐ ปี โดยคนเดินทางเข้าป่าและเล่าเรื่อง ร.ต.อ.อภิชาติ ปัดภัย  
โพสต์ล่าสุด

เรื่องเล่าสู่ตำนาน ตอน...ตำหนิลับ..ในพระรอดพิมพ์ใหญ่ (องค์ต้นแบบ)

  "พระรอด....พระเครื่อง..ผู้เป็นรองแค่สายสิญจน์"      "พระรอด"  สุดยอดพระเครื่องซึ่งมีอายุกาลพรรษาสูงสุดแห่ง ชุดเบญจภาคี   เชื่อกันว่าสร้างโดยองค์ฤาษีนารอด ในยุคสมัยอาณาจักรหริภุญชัยแห่งเจ้าแม่จามเทวี ปฐมกษัตรี นับถึงเวลานี้ก็ได้ประมาณกว่า ๑,๓๐๐ ปีล่วงมาแล้ว  "ฤาษี นารอด (หรือนารถะ)"        "พระรอด..เป็นรองแค่สายสิญจน์"           ภาคเหนือ ..มีน้อยคนที่ไม่รู้จักพระรอด แม้แต่เด็กๆก็ยังรู้จัก พูดง่ายๆ เกิดมาก็รู้จักพระรอดตั้งแต่แบเบาะแล้ว ด้วยฤิทธิปาฏิหาริย์ที่เล่าลือกันของพระรอดประกอบด้วยนามคำว่า  "รอด"   พ่อแม่หรือผู้ปกครองจึงนิยมหามาให้ลูกหลานให้ใช้คล้องคอ ญาติพี่น้องที่มีใครให้กำเนิดลูกใหม่ๆ ก็มักจะได้ของฝากของเยี่ยม ถ้าเป็นพระเครื่องก็เห็นจะไม่พ้น "พระรอด"   ภาพลักษณ์ของ  "พระรอด"  ไม่ว่าจะเป็นพระรอดใหม่หรือพระรอดเก่า จึงยังฝังจิตฝังใจกลายเป็นวัฒนธรรมการคล้องพระเครื่องของทางภาคเหนือของไทยและเป็น  "ศรัทธาวัฒนธรรม"  ที่อยู่คู่กับคนภาคเหนืออย่า...

"ตำนานแห่งองค์ฤษีผู้วิเศษ " พระพิมพ์ที่ขานตำนานเกี่ยวกับองค์พระฤษี - The Buddha amulets..related with the sacred Hermits. "

   "สมเด็จบาง นางหนา ท่านว่าไว้ พระรอดนุ่มหนึกใน คล้ายสีผึ้ง ผงสุพรรณดินกรองต้องตราตรึง ซุ้มกอซึ้ง แร่มะขาม งามจับใจ"         เมื่อรวบรวมตำนานการสร้างพระเครื่องแห่งองค์พระฤษี ในเขตตำบลเมืองพิษณุโลกถึงเขตตำบลเมืองสุพรรณบุรี แล้ว พอจะทราบความได้ว่า....    "ตำบลเมืองพิษณุโลก เมืองกำแพงเพชร เมืองพิชัยสงคราม เมืองพิจิตร เมืองสุพรรณ มีฤษี ๑๑ ตน ฤษีเป็นใหญ่ ๓ ตน ตนหนึ่งฤษีพิราไลย์ ตนหนึ่งฤษีตาไฟ และ ฤษีตาวัว เป็นประธานแก่หมู่ฤษีทั้งหลายทั้งหมด จึงปรึกษากันว่า เราท่านทั้งหลายนี้จะเอาอันใดไปให้แก่ พระยาศรีธรรมาโศกราช ฤษีทั้งสามจึงว่าแก่ฤษีทั้งปวง...ว่า...เราจะทำด้วยฤทธิ์ ทำด้วยเครื่องประดิษฐานเงินทองไว้นี้ ฉลองพระองค์จึงทำเป็นเมฆพัดอุทุมพร เป็นมฤตพฤทธิ์ อายุวัฒนะ พวกฤษีประดิษฐานไว้ในถ้ำเหวน้อยใหญ่ เป็นอานุภาพแก่มนุษย์ทั้งหลาย สมณชีพราหมณาจารย์เจ้า ไปถ้วน ๕,๐๐๐ พรรษา ฤษีตนหนึ่งจึงว่าแก่ฤษีทั้งปวง...ว่า...ท่านจงไปเอาว่านทั้งหลาย อันมีฤทธิ์ เอามาให้ได้หนึ่งพัน แล้วเก็บเอาเกสรไม้อันวิเศษ ที่มีกฤษณาเป็นอาทิ ให้ได้หนึ่งพัน ครั้นเสร็จแล้ว ...