ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ตำนานที่หายไป "พระรอดพิมพ์จิ๋ว " -The lost legend .."Native Pra Rod" with tiny mold style" Lamphun Province


    เรื่องเล่าที่กลายเป็นตำนานหรือความลึกลับไปแล้ว เกี่ยวกับ "พระรอด" พิมพ์จิ๋ว กรุวัดมหาวัน จังหวัดลำพูน ...ดูการเปรียบเทียบขนาดครับ ว่าจิ๋วขนาดไหน กับเหรียญราคา ๒๕ สตางค์ พ.ศ.๒๕๕๙


    กับ...เหรียญราคา ๒๕ สตางค์ พ.ศ.๒๕๕๙ และพระรอดพิมพ์ใหญ่  วัดมหาวัน ลำพูน   

    จากการเดินทางไกลในต้นปีนี้ พ.ศ.๒๕๖๐....ทั้งเพื่อกิจธุระหรือการเดินทางเพื่อการท่องเที่ยวพักผ่อนทางแถบจังหวัดภาคเหนือ ทำให้กระผมได้พบกับคุณลุงอ้าย ณ ร้านลาบริมทางแห่งหนึ่งในตัวเมืองลำพูน   จากการพูดคุยกันทำให้เกิดความคุ้นเคยและเป็นกันเอง ด้วยบุคลิกของผม ทำให้ลุงอ้าย เจ้าของร้านลาบเกิดความชอบพอ คุยกันถูกอกถูกใจ จึงทำให้ผมได้ครอบครอง "พระรอด พิมพ์จิ๋ว" องค์นี้ ซึ่งคุณลุงอ้าย ให้มาพร้อมกับเหรียญพระเกจิอาจารย์ทางภาคเหนือ อีกหนึ่งเหรียญ ตอนแรกผมก็ไม่ได้สนอกสนใจอะไร เพราะยังไม่รู้จักว่า"พระรอด" เขาดูกันยังไง ซึ่งคุณลุงเอง แกก็บอกว่า เป็นพระรอดเล็ก เล็กมากๆ แต่ไม่รู้ว่าแท้หรือไม่และแกก็ไม่เคยเห็นพระรอดขนาดเล็กแบบนี้มาก่อน "อาจจะเป๋นพระใหม่เน้อ..ลุงกะผ่อบ่เป๋น" คุณลุงอ้าย พูดกำชับกล่าวบอกด้วยสำเนียงภาษาถิ่นทางภาคเหนือที่เราใช้สื่อสารกัน (อาจจะเป็นพระใหม่นะ ลุงก็ดูไม่เป็น) แต่ก็รู้ว่านี่คือ พุทธศิลป์แบบพระรอด แกก็จำไม่ได้แล้วได้มาตอนไหน น่าจะมาจากทางญาติๆกันให้มา...แกบอก


    From the journey toward the north zone of Thailand by the early of this year 2017, stop for lunch by the roadside of Lamphun Province, at the small local restaurant of northern local food that I'm appreciate.
    Let' me knew ...Uncle Aii, the owner and we talked with familiar atmosphere ...then he gave me a tiny object and the other of Buddha amulet bronze coin. "Pra Rod" he said, but did not sure ..perhaps just new one "I received from distant relative." said Uncle Aii.
    At first sight.. by Buddha amulet format , I knew that's "Pra Rod" but never seen before....so tiny figure and unbeknownst how to check.Whether is "Pra Rod " with tiny mold in the legend or not ,legends must be still stay keep and go on.

    See..Comparison above and below  เปรียบเทียบกับสมเด็จพระนางพญาพิมพ์ใหญ่..เข่าโค้ง

    น้อยคนนักหรือแทบจะไม่มีเลยก็ว่าได้ ที่จะได้พบเห็นหรือรู้จัก พระรอดพิมพ์จิ๋ว ซึ่งผมเองก็ไม่รู้จักมาก่อนด้วย แต่ก็เป็นที่โชคดีมาก ที่ได้รับพระรอดองค์นี้ ให้ได้มาศึกษาและเรียนรู้ โดยทำการค้นคว้าอยู่เป็นเวลานาน พอสมควร จึงพอจะอนุมาณตามแบบพุทธศิลป์ โดยเฉพาะกลุ่มใบโพธิ์ อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะกรุวัดมหาวันและเนื้อหาบวกกับความเก่า ซึ่งล่วงกาลเวลามานานกว่าพันปี..ได้ว่า น่าจะเป็น "พระรอดพิมพ์จิ๋ว" ในตำนานที่สูญหายไปและไม่มีการกล่าวถึงอีกเลย หรือกล่าวอ้างถึงน้อยมาก จะจริงหรือเท็จประการใด ตำนานเรื่องเล่า ขอให้ยังคงอยู่และดำเนินต่อไป ก่อนที่จะไม่มีใครรู้จักหรือกล่าวถึงอีกเลย..
"พุทธศาสตร์ขับพุทธศิลป์"
" พระรอด พิมพ์จิ๋ว วัดมหาวัน จังหวัดลำพูน"

    There was hardly anyone who ever seen "Native Pra Rod" with tiny mold style" ,so am I, but .. very lucky for me to receive this Buddha amulet according to the story.I spent time of learning and research deduce from format, mass, stain of soil, old age greater than 1,300 yrs. Could be deduct..this  could be the lost legend ""Pra Rod " with tiny mold style. The story that is hardly anyone who said or refer about.....

"Native Format"

    Native format object - Made of fine baked clay,special mineral, sacred botanic herb and special sacred object.Through time greater than thousand years so structure has been become similar with Igneous rocks (hardness - rust from iron oxides). 

    Native format style - "Thawarawadi-Srivijaya Period"  with"Unique Haripunjaya - ancient Kingdom (Lamphun)about greater than 1,300 years ,17th century Buddhist eraBuddha dressed with yellow robe,wore hat king style, was sitting cross-legged Meditation on three-line base with Mara style or winning devil Buddha image style, surrounded with Bodhi Tree Leaves.

    Native origin "Mahavarn Temple" Lamphun Province as believed, created by the Hermit named "Narod or Naratha" since the time of an ancient "Kingdom of Haripunjaya" about greater than 1,300 years ,17th century Buddhist era, in the reign of Queen Chamadevi. Now, ancient city Haripunjaya as well know as "Lamphun Province", the province by the north of Thailand (Chiang Mai next).


องค์ฤษีนารอด(นารถะ), The Hermit  "Narod or Naratha" 

ผู้สร้างพระรอดในตำนาน -The sacred hermit who created "Pra Rod" by legend.

"อนุสาวรีย์พระนางเจ้า จามเทวี, The monument of Queen Chamadevi"

To Lamphun an ancient "Kingdom  "Lamphun Province"of Haripunjaya"  

"Lamphun Province"

  Sacred Faith - Protected Harm - Be Saved, Fortune, Promote Excellence, Mark of power and authority.

    Estimated Price - as arranged accord price - Thai Baht.
    Contact: Interested in....contact to apichatimm@gmail.com or comment.
สงวนสิทธิ์ ในการนำไปเผยแพร่ มีความสนใจ ติดต่อที่อยู่ อีเมล ข้างต้น ..ร.ต.ท.อภิชาติ (ชาติ เชียงราย) ผู้เขียน...Knowledge are endless. "การเรียนรู้ไม่มีวันสิ้นสุด"

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เรื่องเล่าสู่ตำนาน ตอน...ตำหนิลับ..ในพระรอดพิมพ์ใหญ่ (องค์ต้นแบบ)

  "พระรอด....พระเครื่อง..ผู้เป็นรองแค่สายสิญจน์"      "พระรอด"  สุดยอดพระเครื่องซึ่งมีอายุกาลพรรษาสูงสุดแห่ง ชุดเบญจภาคี   เชื่อกันว่าสร้างโดยองค์ฤาษีนารอด ในยุคสมัยอาณาจักรหริภุญชัยแห่งเจ้าแม่จามเทวี ปฐมกษัตรี นับถึงเวลานี้ก็ได้ประมาณกว่า ๑,๓๐๐ ปีล่วงมาแล้ว  "ฤาษี นารอด (หรือนารถะ)"        "พระรอด..เป็นรองแค่สายสิญจน์"           ภาคเหนือ ..มีน้อยคนที่ไม่รู้จักพระรอด แม้แต่เด็กๆก็ยังรู้จัก พูดง่ายๆ เกิดมาก็รู้จักพระรอดตั้งแต่แบเบาะแล้ว ด้วยฤิทธิปาฏิหาริย์ที่เล่าลือกันของพระรอดประกอบด้วยนามคำว่า  "รอด"   พ่อแม่หรือผู้ปกครองจึงนิยมหามาให้ลูกหลานให้ใช้คล้องคอ ญาติพี่น้องที่มีใครให้กำเนิดลูกใหม่ๆ ก็มักจะได้ของฝากของเยี่ยม ถ้าเป็นพระเครื่องก็เห็นจะไม่พ้น "พระรอด"   ภาพลักษณ์ของ  "พระรอด"  ไม่ว่าจะเป็นพระรอดใหม่หรือพระรอดเก่า จึงยังฝังจิตฝังใจกลายเป็นวัฒนธรรมการคล้องพระเครื่องของทางภาคเหนือของไทยและเป็น  "ศรัทธาวัฒนธรรม"  ที่อยู่คู่กับคนภาคเหนืออย่า...

"หนึ่งในตำนานแห่งองค์ฤษีผู้วิเศษ - One of the legend of the sacred Hermits. ".." พระซุ้มกอ - Pra Sum Kor "

   "สมเด็จบาง นางหนา ท่านว่าไว้ พระรอดนุ่มหนึกใน คล้ายสีผึ้ง ผงสุพรรณดินกรองต้องตราตรึง ซุ้มกอซึ้ง แร่มะขาม งามจับใจ"    “ ใครมีกูไว้ไม่จน ”   จากคำจารึกในตำนาน ที่เล่าสืบขานกันต่อๆมา ถึงคำบอกเล่า เกี่ยวกับการค้นพบ พระกรุอันโด่งดังแห่งกรุในพื้นที่ที่เรียกว่า "ลานทุ่งเศรษฐี" เมืองกำแพงเพชร เมืองอันเป็นเมืองแห่งมรดกโลก ในปัจจุบัน...ดังคำขวัญประจำจังหวัด “กรุพระเครื่อง เมืองคนแกร่ง ศิลาแลงใหญ่ กล้วยไข่หวาน น้ำมันลานกระบือ เลื่องลือมรดกโลก”     กำแพงเมือง ป้อมปราการ ทำมาจากหินศิลา แข็งแกร่งดุจเพชร  ตั้งตระหง่านยืนหยัดคู่กาลเวลา ผ่านการศึกสงครามมาหลายครา บัดนี้รากไม้ใหญ่ขอยึดเพื่อใช้อยู่อาศัย บรรยากาศมีความอึมครึมดูเข้มขลัง ให้หวนนึกถึงเหตุการณ์ครั้งในประวัติศาสตร์แบบรู้สึกได้ "อุทยานประวัติศาตร์ เมืองมรดกโลก กำแพงเพชร" แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ เมืองกำแพงเพชร (ชากังราว)     พระเครื่องที่พบในกรุลานทุ่งเศรษฐี ที่ค้นพบหรือแตกกรุมาตั้งแต่ครั้นสมัย  สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต...

เล่าเรื่องก่อนเป็นตำนาน ตอน..พระกำแพงงบน้ำอ้อย กรุวัดพิกุล

พระกำแพงงบน้ำอ้อย เนื้อเขียว คราบแดง กรุวัดพิกุล กำแพงเพชร     พระพิมพ์เนื้อดินเผา เมืองกำแพงเพชร มีมากมายหลายพิมพ์ มีการค้นพบแม้กระทั่งพระสกุลลำพูน สุพรรณบุรี พระพิมพ์ศิลปะขอม เป็นต้น แตกต่างกันที่เนื้อดินและความปราณีตของแม่พิมพ์ ซึ่งจะได้สืบหาค้นคว้ามานำเสนอเพื่อการอนุรักษ์ต่อไป     พระกำแพงงบน้ำอ้อย กรุวัดพิกุล เป็นอีกหนึ่งพระพิมพ์ที่โด่งดังของเมืองกำแพงเพชร หาพบองค์จริงแทบจะน้อยมาก (กระผมว่าหาพบยากยิ่งกว่าพระรอดซะอีก) องค์ในภาพนี้เป็นเนื้อเขียวเข้ม คราบแดง เนื้อแกร่งมีชั้นผิวนอกที่ดูคล้ายเปลือก ค้นพบภายในเจดีย์วัดพิกุล วัดโบราณในลำดับต้นๆของเมืองกำแพงเพชร คนโบราณท่านว่า วัดที่ตั้งมาก่อนคือวัดป่ามืด ไล่ลำดับไล่เลี่ยกันถัดมาก็จะเป็นวัดซุ้มกอ วัดพิกุล...ซึ่งอายุก็ประมาณเกือบ ๘๐๐ ปีล่วงมาแล้วทั้งหมด เรื่องเล่าสู่ตำนาน พระงบน้ำอ้อย พิมพ์ ๑๐ องค์ เนื้อเขียวคราบแดง ขนาดประมาณเหรียญห้าบาทปัจจุบัน กรุวัดพิกุล (ลานทุ่งเศรษฐี) หาพบได้ยาก อายุประมาณกว่า ๗๐๐ ปี โดยคนเดินทางเข้าป่าและเล่าเรื่อง ร.ต.อ.อภิชาติ ปัดภัย